Click for: CSSHS Archive Main Page
Vol. VII • 1984 • v07n4p24       http://www.creationism.org/thai/HuangTi_th.htm

หวาง ตี่ ตัวอักษรจีนและการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของจีนหลังจากน้ำท่วมโลก
รอย แอล. เฮลส์

ปฐมกาล 11:1-9 ระบุว่าหลังจากน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ก่อนที่พวกคนจีนเข้าไปในดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ขณะนี้ พวกเขาคงจะเคยใช้เวลาในสุมาเรีย (แผ่นดินของชีนาร์) อย่างน้อยมีตำนานจีนโบราณเรื่องหนึ่งบอกว่าหวางตี่ หรือที่เรียกว่าจักรพรรดิเหลือง ได้นำคนของเขาออกจากตะวันตกและคนพื้นเมืองที่เรียกว่า เมียว ตอนนี้อาศัยอยู่ที่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนได้บอกว่าพวกเขามาถึงประเทศจีนก่อนจักรพรรดิคนนี้ ชื่อเสียงที่หวางตี่ได้มาตามลำดับวงศ์ตระกูลโบราณเพิ่มความน่าเชื่อถือในตำนานนี้ด้วย

ตัวอักษร 10 ตัวของตัวอักษรจีนสมัยแรก เรียกว่า เทียนคาน หรือ กิ่งสวรรค์ น่าจะถูกคิดค้นขึ้นระหว่างที่หวางตี่ปกครอง แต่ตามความจริงแล้ว ดูเหมือนการเขียนของพวกสุมาเรียซึ่งมาจากช่วงเวลาอูรุก/เจมเดท นาสร์ ตำนานส่วนใหญ่ของจักดิพรรดิเหลืองดูเหมือนว่าน่าจะเกิดขึ้นมาจากการเดินทางของคนจีนจากสุมาเรีย (ตะวันออกกลาง) หลังจากน้ำท่วมใหญ่ของโนอาห์

Map of China, in Asia
ประเทศจีนและเอเชียตะวันออก

     ตำราขุนเขามหาสมุทร 
นักวิชาการหลายคนเคยเชื่อว่าจักรพรรดิเหลืองนำคนจีนไปถึงดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ทุกวันนี้ พวกเขาตั้งทฤษฎีของเขาโดยใช้ตำราของราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงค.ศ. 9) ตำราเล่มนี้เรียกว่า ตำราขุนเขามหาสมุทร ตำราเล่มนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เรื่องน่าสงสัย” อย่างไรก็ตามตำราชางไฮจิง (ตำราขุนเขามหาสมุทร) เพิ่งจะได้รับความนิยมเมื่อนักวิชาการชาวจีนได้รับอิทธิพลจากภาคตะวันตก1 และเนื่องจากในตำรานี้ในเริ่มแรกนั้นไม่มีเบาะแสอะไรเกี่ยวกับต้นกำเนิดของตะวันตกเลย ทำให้นักวิชาการสมัยนี้ปฏิเสธตำราขุนเขามหาสมุทรเล่มนี้ แต่มีหลายปัจจัยที่โต้แย้งกับหลักฐานในประวัติศาสตร์ที่จะช่วยให้ยังยึดถือตำรานี้อยู่:

(1) เรามีแค่เพียงส่วนเล็กๆ ของวรรณกรรมจีนที่มีอยู่ก่อนราชวงศ์ฮั่น ตามที่ชานไฮจิงอ้างถึงธรรมเนียมโบราณ นี่ไม่ได้ให้หลักฐานเพียงพอแก่เราที่จะทดสอบความน่าเชื่อถือของมัน คนที่สงสัยนั้นเป็นไปได้ว่าพวกเขาคิดถูกต้องที่เชื่อว่าข้อความส่วนใหญ่ในตำรานี้ถูกเขียนขึ้นภายหลัง แต่ยังเป็นไปได้ที่แนวคิดในตำรานี้มาจากโบราณกาลจริงๆ

(2) ที่เบาะแสของต้นกำเนิดของภาคตะวันตกควรจะปรากฏในวรรณกรรมของจีนที่มักจะเกลียดทุกสิ่งที่เป็นต่างชาตินั้นเป็นสิ่งที่น่าคิด

(3) ตามที่เราได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ พวกเมียวอ้างว่าพวกเขาได้ไปถึงเมืองจีนก่อน 2

(4) ประเพณีของจีนมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าสงครามแรกในประวัติศาสตร์ของเขา เกิดขึ้นเมื่อจักรพรรดิเหลืองรบชนะพวกเมียว จากจุดยืนของลำดับเหตุการณ์ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่ว่าในบันทึกหลายฉบับ ผู้นำจีนไม่ได้กลายเป็นจักรพรรดิเหลืองจริงๆ จนกระทั่งเขาได้รับชัยชนะ

(5) จักรพรรดิเหลืองเป็นบรรพบุรุษของจักรพรรดิจีนทุกคนที่มาภายหลังถึง 2,500 ปี มีตำนานของผู้นำก่อนหน้านี้ แต่พวกเขาแทบไม่ได้สืบเชื้อสายกันมา มีจักรพรรดิที่มาภายหลังมากมาย แต่ในพวกเขาไม่มีใครที่สามารถอ้างได้ว่าลูกหลานของเขาเป็นเชื้อสายของจักรพรรดิทั้งหมดอย่างเชื้อสายของหวางตี่ จักรพรรดิทุกองค์ในสมัยหลังจากหวางตี่ และก่อนราชวงศ์ของเฮเซีย (2205-1766 ปีก่อนคริสตกาล) ราชวงศ์ชาง (1766-1112 ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์เชา (1111-256 ปีก่อนคริสตกาล) มาจากลูกหลานของหวางตี่ (ดูในการลำดับวงศ์ตระกูลที่แนบมา) ดูเหมือนว่าหวางตี่เป็นบรรพบุรุษแท้ของชนชาติจีน

    เทียนคาน (หรือ “กิ่งสวรรค์”)
ตัวอักษร 10 ตัวของตัวอักษรจีนสมัยแรกที่เรียกว่า “กิ่งสวรรค์” น่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยรัฐมนตรีคนหนึ่งของหวางตี่ ชื่อและรูปร่างของตัวอักษรเหล่านี้ ถูกรักษาไว้ตามธรรมเนียม ความสอดคล้องกันของรูปร่างของตัวอักษร 5 ตัว ปรากฏในเครื่องปั้นดินเผาจีนยุคหินใหม่ (ดูตามรูปที่แนบมา) การที่เราจะพบตัวอักษรน้อยขนาดนี้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะว่ามีตัวอักษรที่อยู่ในเครื่องปั้นดินเผาที่หลงเหลือมาถึงสมัยนี้น้อยกว่า 40 ตัวอักษร ตัวอักษรเหล่านี้ถูกรักษาไว้ตามที่เคยเป็นมา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงของการเอียงของตัว “I” การกลับด้านของ “Wu” การเพิ่มขีดต่อท้าย “Kuei” เท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่างที่เคียงคางฮูได้ชี้แจงไว้ในปี 1935 ว่า ชื่อของตัวอักษรเหล่านี้ “ไม่สามารถเข้าใจได้ในภาษาจีน คำเหล่านี้ถูกเขียนไว้บ่อยโดยใช้ตัวอักษรที่แตกต่างกันในแต่ละที่ ดูเหมือนว่าตัวอักษรเหล่านี้อาจจะเป็นคำที่แปลจากภาษาต่างชาติให้เป็นภาษาจีนตามการออกเสียงของมัน” 3

    เทียนคานปรากฎในภาษาสุมาเรีย
รูปร่างจริงๆ ของอักษรเทียนคานใกล้เคียงกับภาษาสุมาเรียจากสมัยอูรุก เจมเดท นาสร์ (รูปที่ 1) (ตามที่คนสุมาเรียเขียนภาษาของเขาด้วยการเอียง 90 องศาในสมัยนั้น ผมได้เพิ่มช่องอีกช่องหนึ่งเพื่อที่สัญลักษณ์อูรุก เจมเดท นาสร์ สามารถที่จะปรับได้ เพื่อการเปรียบเทียบที่ชัดเจนขึ้น ในรูปที่ 2) นอกจากข้อยกเว้นของ “เฮซิน” ตัวอักษรของจีนสามารถอธิบายได้ว่ามันมาจากภาษาสุมาเรีย “เชีย” เกือบจะเหมือนกันกับตัวอักษรอูรุกที่กำหนดไว้ในหมายเลข 234 “I” ก็เหมือนแนวนอนของ 450 “Ping” เป็นเหมือนตัว 692 ที่ถูกบีบ “Ting” เป็น L ใน 405 เอาครึ่งวงกลมของ 444 ออก และเราจะมองเห็นตัว “Wu” “Chi” เป็น 864 “Keng” ใกล้เคียงกับ 386 แต่ตัว Y ถูกแยกออกจากด้านข้าง และเอาไปวางไว้ตรงกลาง “Jen” เป็นตัวง่ายๆ ของ 515 “Kuei” เป็น 878 ที่มีขีดเพิ่มในตอนท้าย 9ใน10 ของตัวอักษรเทียนคาน สามารถอธิบายได้ว่ามันมาจากภาษาสุมาเรีย และตัวอักษรในเครื่องปั้นดินเผาของยุคหินใหม่เป็นตัวกลางของมัน นี่เป็นสิ่งที่เราน่าจะคาดหวังว่าจะเจอถ้าอักษรเทียนคานมาจากภาษาสุมาเรียจริงๆ

    บทสรุป
หลายร้อยปีต่อมา คนจีนแสดงความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองรวมถึงการนมัสการจักรพรรดิที่ปกครองและเกลียดชังทุกสิ่งที่เป็นต่างชาติ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การทิ้งธรรมเนียมดั้งเดิม หรือแม้แต่เล่าเรื่องเก่าด้วยสถานที่ใหม่ คนหนึ่งอาจจะชี้ถึงมหากาพย์น้ำท่วมโลกของจีนที่มีอยู่อันเดียวในท่ามกลางธรรมเนียมอื่นๆ ของโลกที่ได้พูดเรื่องน้ำท่วมใหญ่ โนอาห์ของเขาที่ชื่อยู เป็นจักรพรรดิที่ได้รับชัยชนะเหนือน้ำท่วมโลกผ่านทางดินวิเศษที่มาจากสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้มันไม่น่าแปลกใจเลยว่า คนจีนที่มาภายหลังถือว่าตำนานของต้นกำเนิดของภาคตะวันตกของหวางตี่เป็น “เรื่องแปลก” แต่ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องนี้จะคงอยู่มาจนถึงป่านนี้ เมื่อเราพิจารณาว่าเรื่องนี้มันตรงกับวัฒนธรรมของพวกเผ่าเมียว และที่ว่าหวางตี่เป็นบรรพบุรุษของคนจีนในลำดับวงศ์ตระกูลโบราณ เรื่องนี้ดูเหมือนว่าเป็นประวัติศาสตร์ (ดูรูปที่ 3) ชื่อของตัวอักษรจีนเหล่านั้นที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยการครอบครองของหวางตี่ ปรากฏว่ามันมาจากต่างชาติ และสัญลักษณ์เหล่านั้นก็เหมือนกับในยุคอูรุก เจมเดท นาสร์ ของสุมาเรีย พระคัมภีร์ได้อธิบายสถานการณ์นี้อย่างง่ายๆ ว่า มนุษย์ทุกคนอาศัยอยู่ในสุมาเรียหลังจากน้ำท่วมโลก ใครสักคนคาดการณ์ว่าตำนานของหวางตี่ได้รวมเข้าไปในความทรงจำการเดินทางของคนจีนไปสู่ภาคตะวันออก


FOOTNOTES
1 Kiang Kang-hu, T-ai Yu Chul Chi Chinese Civilisation (Shanghai: Chung Hwa Book Co., 1935) p.4.
2 See Roy L. Hales, "Archaeology. the Bible and the Postflood Origins of Chinese History." Creation Social Science and Humanities Quarterly, Winter 1983 or Hugo Bernatzek, Akha and Miao (1970) p.15.
3 Kiang Kang-hu, p.6.

NOTES ON ILLUSTRATION OF FIGURINES  บันทึกของภาพของตัวอักษร
สัญลักษณ์อักษรเทียนคานมาจากชางควางชี  (T'ien Kan symbols taken from Chang Kwang-chih.) `T'ien Kan: a key to the history of the Shang," David T. Roy and Tsuen-hsuin Ts len (eds), Ancient China: Studies in Early Civilisation (Hong Kong: The Chinese University Press, 1978).

Neolithic symbols from Chang Kwang-chih, The Archaeology of Ancient China (New Haven & London: Yale University Press, edition of 1977) figures 51 and 129.

ตัวอักษรสุมาเรียมาจาก:  (Sumerian figures taken from either) (1) Adam Falkenstein, Archaische Texte Aus Uruk (Berlin, 1936), ตัวอักษรเหล่านี้ถูกเรียกตามตัวเลขอย่างเช่น 234, (2) G.A. Barton, Origin and Development of Babylonian Writing (Leipzig, 1913) ถูกพิมพ์ซ้ำใน L.A. Wedell, The Aryan Origin of the Alphabet (Hawthorne, Cal.; Christian Book Club of America, edition of 1968), ตัวอักษรนี้ตั้งเป็น B 78. ตัวนี้ปรากฏในภาพ 62 of Hans Jensen, Sign. Symbol and Script (London: George Allen & Unwin Ltd, 1970). (3) S. Langdon Pictrographic Inscriptions from Jemdet Nasr (Oxford University Press, 1928) fig. designated L 405.


Chart 1



Chart 2


Chart 3


 
"หวาง ตี่ ตัวอักษรจีนและการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของจีนหลังจากน้ำท่วมโลก"
<http://www.creationism.org/thai/HuangTi_th.htm>

หน้าหลัก:  ภาษาไทย
www.creationism.org