สิ่งมหัศจรรย์ 7 อย่างของภูเขาเซ็นท์เฮเลนส์
โดย ลอยด์ และ ดอริส แอนเดอสัน    http://www.creationism.org/thai/7wonders_th.htm

บทนำ:  สิ่งมหัศจรรย์ 7 อย่างที่สรุปข้างล่างคือ ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นผลของการระเบิดที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1980-1989 และถูกนำมาจัดแสดงให้ดูที่ ศูนย์ข้อมูลการทรงสร้างเอ็มเอสเอ็ช (MSH Creation Information Center) เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว มันจึงท้าทายเกี่ยวกับความคิดเรื่องวิวัฒนาการที่ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึงจะเกิดขึ้นได้ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “มหัศจรรย์” เพราะว่ามันจะทำให้เรารู้สึกเกรงขาม ตามความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นการชักชวนให้เราจำได้ว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกด้วยความรวดเร็วมากแค่ไหน
Volcanic Eruption, May 18, 1980
ภูเขาไฟระเบิด 18 พฤษภาคม 1980

1.  ภูเขาถูกจัดเรียงใหม่จนแทบจำไม่ได้ภายใน 9 ชั่วโมง  เอ็มเอสเอ็ช (MSH) เป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงว่าสวยงามที่สุดของภูเขาในยอดของเทือกเขาแคสเคด มีรูปร่างเหมือนกรวยที่ปกคลุมด้วยหิมะ ตั้งตระหง่านเหนือหุบเขาลึกที่มีป่าทึบรวมด้วยทะเลสาบน้ำใสราวผลึกแก้วที่อยู่ทางตอนเหนือของมัน ในเดือนมีนาคมปี 1980 แมกมาเริ่มเคลื่อนขึ้นมาข้างในภูเขา ทำให้มันแตกออกมา มีแผ่นดินไหวตอนเวลา 8.32 นาฬิกา ในวันที่ 18 พฤษภาคม ทำให้ทางลาดลงในทางเหนือทลายลงมาในหุบเขาข้างล่าง สิ่งนี้ปล่อยแรงดันภายในออกมาด้วยการระเบิดที่พลุ่งขึ้นด้านข้างทางฝั่งเหนือ การระเบิดครั้งแรกนี้ใช้เวลา 8 นาที และทำลายป่าถึง 600 ตารางกิโลเมตร

ภูเขานี้ระเบิดต่อไปจนถึงเวลาเย็น โดยการใช้พลังการระเบิดเท่ากับระเบิดปรมาณู 20,000 ตันแบบเดียวกับที่ใช้ในการระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา ภายใน 9 ชั่วโมงนั้น ¼ ของข้างบนของภูเขาและตรงกลางทั้งหมดของภูเขานั้นหายไป เหลือเพียงแค่ปล่องภูเขาไฟที่มีรูปร่างเหมือนเกือกม้า หุบเขาลึกถูกปกคลุมไปด้วยเศษจากภูเขาไฟ ทะเลสาบเต็มไปด้วยเศษภูขาไฟสูงถึง 75 เมตร และแม่น้ำที่ไหลลงมาจากทางเหนือของภูเขาและทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาถูกปกคลุมด้วยเศษภูเขาไฟประมาณ 45 เมตร ในเวลาเพียงแค่ 9 ชั่วโมง เขตนั้นก็กลายเป็นเหมือนพื้นผิวของดวงจันทร์ที่น่าเกลียด ปราศจากสิ่งมีชีวิตใดๆ

ใน 150 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางธรณีวิทยาได้ลดบทบาทของเหตุการณ์ภัยพิบัติให้เล็กลง แต่การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดที่เกิดใน 9 ชั่วโมงของภูเขาไฟเล็กๆ นี้ น่าจะใช้เวลา 1 ล้านปีของการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ

2.  หุบเขาลึกเกิดขึ้นภายใน 5 เดือน  ใน 5 เดือนหลังจากการระเบิด ได้มีหุบเขาลึก 2 แห่งที่เกิดจากการไหลของโคลนและกรวดและเถ้าภูเขาไฟ มีทางระบายของปล่องภูเขาไฟขนาด 1.5 x 2.0 ไมล์ ทางระบายอันแรกคือ สเต็ปแครนยอน (Step Canyon) ลึกถึง 200 เมตร ทางด้านตะวันออกคือ ลูวิทแคนยอน (Loowit Canyon) ทั้งสองหุบเขานี้ตัดผ่านหินแข็ง มีลำธารไหลออกมาจากทั้งสองหุบเขา การอธิบายทางด้านวิวัฒนาการคือ ลำธารจะทำให้เกิดหุบเขาขึ้นโดยใช้เวลาหลายยุคหลายสมัย แต่ในสถานการณ์นี้เรารู้ว่าหุบเขาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นลำธารเริ่มไหลผ่านมัน ตำราจะบอกว่าหุบเขาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกคือ แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ซึ่งเกิดขึ้นจากลำธารโดยใช้เวลา 100 ล้านปี ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางการกัดกร่อนทางธรณีวิทยาเชื่อว่า แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ต้องเกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วเหมือนหุบเขาที่เอ็มเอสเอ็ช (MSH)
 

 

3.  แบดแลนด์ส (Badlands) เกิดขึ้นใน 5 วัน  ภูมิประเทศของแบดแลนด์ส (Badlands) พบได้ในภาคตะวันตกเฉียงใต้และในรัฐดาโกต้าตอนใต้ มันเกิดขึ้นตรงที่มีเศษหินที่ถูกกัดเซาะในพื้นที่ที่มีก้อนหินใหญ่ๆ ทำให้เกิดภูมิประเทศที่แหลมคม แต่สวยงาม คำอธิบายตามมาตรฐานของภูมิประเทศแบบนี้คือ น้ำเซาะเศษก้อนหินเล็กๆ ออกไป จึงทำให้มีแต่ก้อนหินใหญ่ๆ ที่เหลืออยู่ ซึ่งนี่ใช้เวลาหลายร้อยปี

ที่ เอ็มเอสเอ็ช (MSH) แผ่นดินถล่มครั้งใหญ่ได้นำเอาหิมะและน้ำแข็งจำนวนมากมาด้วย และฝังมันเอาไว้ในหุบเขาที่อยู่ทางเหนือของภูเขา ภายในวันนั้นมีขี้เถ้าหนา 10 เมตรที่มีความร้อนถึง 290 องศาที่อยู่ตรงนั้นด้วย ซึ่งทำให้น้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดไอน้ำทันที นี่คือกระบวนการของพลังงานเดียวกันที่ทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาภายในวันนั้น น้ำจะขยายตัว 1700 เท่าเมื่อมันกลายเป็นไอน้ำ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างทันที มันกลายเป็นการระบิด ผ่านทางการระเบิดที่เหมือนกันนี้ น้ำได้ถูกใช้ไปจนหมดในที่สุด

เมื่อขี้เถ้าร้อนๆ ปกคลุมน้ำแข็งและหิมะในหุบเขานั้น มันทำให้น้ำแข็งละลายและกลายเป็นไอน้ำทันที สิ่งที่เรียกว่า “หลุมระเบิดไอน้ำ” (ที่ลึกถึง 40 เมตร) เกิดขึ้น ภายในหลุมมีผิวด้านข้างที่อยู่แนวดิ่งจนกระทั่งแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ “ลำธารและห้วย” ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะของภูมิประเทศแบบแบดแลนด์ส (Badlands) (ลำธารคือห้วยเล็กๆ) เป็นไปได้ที่ลักษณะของแบดแลนด์ส (Badlands) ที่ใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกาเกิดจากแรงภัยพิบัติและการระเบิดของภูเขาไฟ

4.  ชั้นของหินตะกอนเกิดขึ้นภายใน 3 ชั่วโมง  ในวันที่ 12 มิถุนายน 1980 มีการระเบิดครั้งที่ 3 เกิดขึ้น ทำให้เกิดชั้นหินตะกอน 8 เมตร ซึ่งทำให้นักธรณีวิทยาแปลกใจ เป็นความคิดดั้งเดิมที่ว่าชั้นหินตะกอนที่เรียงตัวกันแบบนี้ต้องการระยะเวลายาวนานที่จะเกิดขึ้นได้ แต่นี่มีถึง 100 ชั้นที่เรียงตัวกันในช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน ตอนที่กลุ่มควันกำลังขึ้นไปในอากาศสูงถึง 9 ไมล์เหนือภูเขา ในเวลาเดียวกันคลื่นลูกแล้วลูกเล่าของกรวดและขี้เถ้าเริ่มไหลลงมาจากปล่องภูเขาไฟตามทางลาดตอนเหนือ แต่ละคลื่นปกคลุมหุบเขาข้างล่างด้วย 1 ชั้น เมื่อวัดความหนาของแต่ละชั้น มันจะมีขนาดกว้าง ¼ นิ้วไปจนถึง 1 หลา แต่ละคลื่นใช้เวลาระหว่าง ไม่กี่วินาที ไปจนถึงไม่กี่นาที

นักธรณีวิทยาที่ชื่อสตีเฟน ออสติน อธิบายว่าการไหลของกรวดและขี้เถ้ามีลักษณะเป็นโคลนของเหลวของเศษซากภูเขาไฟที่ไหลเชี่ยวที่ไหลเรียบพื้นดิน มันไหลลงมาจากด้านข้างของภูเขาด้วยความรวดเร็ว และทิ้งตะกอนที่มีความร้อนถึง 540 องศาเซลเซียสเอาไว้ เราน่าจะคาดหวังว่าตะกอนแต่ละชั้นจะผสมผสานกันอย่างทั่วถึง เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ว่าโคลนของขี้เถ้าร้อนและหินภูเขาไฟที่ไหลลงมาอย่างรวดเร็วสามารถแยกระหว่างอนุภาคที่เล็กกับใหญ่ในชั้นที่เห็นได้อย่างชัดเจน ลักษณะเช่นนี้เป็นไปัตามหลักกฎการไหลที่แสดงให้เห็นในถังตะกอนในห้องปฏิบัติการ

ชั้นหินตะกอนบางๆ แบบนี้ปรากฏอยู่ในทาพีทส์ แซนด์สโตนส์ (Tapeats Sandstones) ของแกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ตามสติปัญญาดั้งเดิมจะกล่าวว่ามันเกิดขึ้นโดยการตกตะกอนอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอเป็นเวลาหลายยุคหลายสมัย ทั้งโคลนที่เกิดจากการอัดของก๊าซที่ทำให้เกิดชั้นตะกอนของเอ็มเอสเอ็ช (MSH) และโคลนที่เกิดจากอัดตัวของน้ำที่ทำให้เกิดชั้นตะกอนที่ทาพีทส์เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์ที่เหมือนกัน ภูเขาไฟแสดงให้เห็นว่าการก่อตัวสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว การท่วมโลกของน้ำสามารถสร้างทาพีทส์ในเวลาสั้นๆ ได้

5.  ลุ่มแม่น้ำเกิดขึ้นภายใน 9 ชั่วโมง  แผ่นดินถล่มเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ได้กลบแม่น้ำและถนนใหญ่ที่ไปสู่ทะเลสาบสปิริท (Spirit Lake) สูงถึง 45 เมตร และกลบลำธารที่อยู่รอบข้างทะเลสาบนั้นไปถึงประมาณ 60 ตารางกิโลเมตรของหุบเขาอัปเปอร์ ทูเล่ (Upper Toutle) และปิดปากภูเขานั้นด้วย มันใช้เวลาถึง 22 เดือนที่จะเกิดทางน้ำไหลไปทะเลสู่ทะเลแปซิฟิกได้

จากนั้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1982 มีการระเบิดเกิดขึ้นที่ได้ละลายหิมะที่ปกคลุมภูเขาและหิมะที่ลงมาอยู่ในปล่องภูเขาไฟช่วงหน้าหนาว น้ำนั้นผสมกับเศษภูเขาไฟที่อยู่บนทางลาดของภูเขาและเกิดเป็นโคลนไหลจำนวนมหึมา ภายใน 9 ชั่วโมงที่ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น โคลนไหลนั้นก็สร้างลุ่มน้ำในหุบเขานั้น และเปิดทางใหม่ที่จะกลับเข้าสู่ทะเลแปซิฟิก ลุ่มน้ำนี้รวมหุบเขาไว้อย่างน้อย 3 หุบเขาที่ลึกถึง 30 เมตร มีหุบเขาหนึ่งที่ถูกตั้งชื่อว่าแกรนด์แคนยอนเล็กแห่งทูเล่ (The Little Grand Canyon of the Toutle) เพราะว่ามันเหมือนกับแกรนด์แคนยอนที่จำลองไว้ที่ขนาด 1/40 เท่า

น้ำหรือโคลนจำนวนมากสามารถทำให้เกิดในสิ่งที่น้ำหรือโคลนจำนวนน้อยสามารถทำได้โดยใช้เวลายาวนานเพียงแค่ในเวลาสั้นๆ

นักธรณีวิทยาที่เชื่อวิวัฒนาการเชื่อว่าการเกิดแชลเนลสแคบแลนด์สแห่งวอชิงตันตะวันออก (Channeled Scablands of Eastern Washington) ที่กว้างถึง 40,000 ตารางกิโลเมตรต้องใช้เวลายาวนาน ในปี 1970-1979 พวกเขาก็ยอมรับในที่สุดว่า การก่อตัวทางธรณีวิทยาที่ยิ่งใหญ่นี้ที่รวมถึงแกรนด์คูลี (Grand Coulee) นั้นเกิดขึ้นภายในเวลาเพียงแค่ 2 วัน และเป็นผลมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดของการก่อตัวโดยการกรัดกร่อนที่ยิ่งใหญ่ที่อยู่บนพื้นผิวโลก ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนเกือบ 300 กลุ่มชนพูดถึงเหตุการณ์ที่ใหญ่เพียงพอที่จะเกิดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งนั่นก็คือ เรื่องน้ำท่วมโลก

6.  ท่อนไม้ที่จมน้ำดูเหมือนป่าไม้ที่มีอายุมากภายในเวลาเพียงแค่ 10 ปี  ต้นไม้ 1 ล้านต้นถูกซัดลงไปในทะเลสาบสปิริท (Spirit Lake) ในวันที่เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปท่อนไม้เหล่านั้นก็เต็มไปด้วยน้ำและจมลงสู่ก้นทะเลสาบ 10% ของท่อนไม้ที่ถูกซัดลงไปนั้นมีรากหนาๆ ติดอยู่ด้วย เมื่อท่อนไม้นั้นจมลงไปที่ก้นทะเลสาบ มันจมลงไปในแนวดิ่งและรากเหล่านั้นก็จะถูกทับถมด้วยตะกอนที่ถูกซัดมาที่ทะเลสาบ นี่ทำให้ดูเหมือนว่าต้นไม้นั้นเกิดและตายอยู่ตรงจุดนั้น ต้นแล้วต้นเล่า เกิดเป็นเหมือนป่าซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ เป็นเวลายาวนาน

การก่อตัวแบบนี้เราสามารถพบได้ที่อื่นด้วย อย่างเช่น สันเขาสเปซิเมิน (Specimen Ridge) ที่อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน (Yellowstone National Park) ที่นั่นนักธรณีวิทยาพบป่าไม้ที่ “ปักราก” ถึง 27 ชั้นในสันเขานั้น และพวกเขาสรุปว่าพบป่าจำนวน 27 ป่า ป้ายที่อธิบายในสันเขานั้นบอกถึงความผิดพลาดของพวกเขา มันเขียนไว้ว่า “ในหุบเขานี้มีซากดึกดำบรรพ์ของป่าถึง 27 ชั้นที่แตกต่างกันที่ถูกฝังไว้ในหินภูเขาไฟ ป่าไม้เหล่านี้เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 50 ล้านปีที่ผ่านมา”

ทุกวันนี้ความจริงได้ถูกเปิดเผยและป้ายนั้นก็ถูกเอาออกแล้ว นักวิทยาศาสตร์ตระหนักว่าปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับทะเลสาบสปิริท (the Spirit Lake) เป็นคำอธิบายของสันเขาสเปซิเมิน (Specimen Ridge) ต้นไม้ที่ลอยบนทะเลสาบได้เต็มไปด้วยน้ำและจมลงไปในก้นบึ้งของทะเลสาบเป็นเวลานาน ทำให้ดูเหมือนว่ามีป่าไม้มากมายที่เกิดขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ การก่อตัวของ 50 ล้านปีคงเกิดขึ้นได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี รวมด้วยเวลาที่จำเป็นสำหรับการทำให้ท่อนไม้กลายเป็นหิน (100 ถึง 1000 ปี)

7.  แบบจำลองใหม่ของการก่อตัวของถ่านหินที่เร็วขึ้น  ดร. สตีฟ ออสติน เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเพนน์สเตต เกี่ยวกับแบบจำลองใหม่ของการก่อตัวของถ่านหินที่เร็วขึ้น จากการวิจัยพื้นที่ถ่านหินในรัฐเคนตั๊กกี้ ขณะที่นักธรณีวิทยาคนอื่นเคยใช้แบบจำลองป่าพรุ (เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน – ผู้แปล) เพื่ออธิบายการก่อตัวของถ่านหิน พวกเขาใช้รูปแบบนี้มาเป็นเวลาถึง 100 ปี ออสตินโต้แย้งว่า รูปแบบนี้ไม่ได้อธิบายอย่างถูกต้องเพราะว่าถ่านหินมีลักษณะที่หยาบเหมือนเปลือกไม้ ไม่มีลักษณะละเอียดเหมือนพรุ พรุประกอบไปด้วยเศษของรากไม้ แต่ถ่านหินไม่มี พรุอยู่บนชั้นดิน แต่ถ่านหินอยู่บนชั้นหิน นอกจากนี้ไม่เคยมีใครพบพรุที่กำลังกลายเป็นท่อนหิน

ออสตินนำเสนอรูปแบบแพลอยน้ำ (a floating mat model) ที่ภัยพิบัติทางน้ำซัดท่วมป่าเป็นล้านๆ เอเคอร์ และทำให้ต้นไม้ติดกันเป็นแพ แพเหล่านั้นลอยบนน้ำทะเลเหนือรัฐเคนตั๊กกี้ ท่อนไม้จะชนกันทำให้เปลือกลอกและจมลงไปที่ก้นทะเล การระเบิดของภูเขาไฟที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นทำให้เกิดความร้อนและแรงดัน ซึ่งเป็นส่วนผสมสุดท้ายที่ใช้ในการผลิตถ่านหินในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลก็คือเกิดถ่านหินในเคนตั๊กกี้และใบปริญญาเอกของออสติน

10 เดือนหลังจากนั้น ภูเขาไฟที่ภูเขาเซ็นท์เฮเลนส์ (Mount St. Helens) ก็ระเบิด เทพืชจำนวนมหาศาสลงไปในทะลสาบสปิริท รวมด้วยท่อนไม้ 1 ล้านท่อน ดร. ออสตินพบว่าท่อนไม้เหล่านั้นที่ลอยบนทะเลสาบไม่มีเปลือกไม้ ที่ก้นทะเลสาบเต็มไปด้วยเปลือกไม้รวมด้วยพืชต่างๆ และตะกอนสูงถึง 3 ฟุต ถึงวันนี้เศษซากเหล่านั้นยังคงค่อยๆ ผุพังลง แต่ถ้าภัยพิบัติทำให้เกิดความร้อนและความดันในปริมาณที่เหมาะสม เศษซากเหล่านั้นจะกลายเป็นท่อนหิน งานวิจัยของดร. ออสติน ระบุว่าแนวความคิดที่ว่าการเกิดถ่านหินจำเป็นต้องมีเวลาเป็นล้านๆ ปี นั้นเป็นแนวความคิดที่น่าสงสัย
 

"สิ่งมหัศจรรย์ 7 อย่างของภูเขาเซ็นท์เฮเลนส์"
<http://www.creationism.org/thai/7wonders_th.htm>

หน้าหลัก:  ภาษาไทย
www.creationism.org